Wednesday, May 16, 2007

*การออกแบบงานโปสเตอร์ One Nigt In Bangkok*

ความสำคัญและความเป็นมาของงาน
การออกแบบโปสเตอร์ฯเพื่อนำเสนอ ชักชวน ให้ทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฯ ได้เห็นสถานที่ที่สำคัญต่างๆของเมืองไทย เห็นความสวยงามในเวลายามค่ำคืนของกรุงเทพมหานคร
ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานคร
ท้องสนามหลวง เดิมเรียกว่า ทุ่งพระเมรุ เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2398 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศว่า “ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า ‘ท้องสนามหลวง’”
ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้นมา ได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เป็นที่ตั้งพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทำนาที่สนามหลวง เพื่อแสดงให้ปรากฏแก่นานาประเทศว่า เมืองไทยบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร มีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวัง และไทยเอาใจใส่ในการสะสมเสบียงอาหารไว้เป็นกำลังของบ้านเมืองด้วย
ในรัชกาลปัจจุบันมีการใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พระราชพิธีกาญจนาภิเษก รวมทั้งงานพระเมรุเจ้านายระดับสูง เช่น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียน ระหว่างถนนราชดำเนินตัดกับถนนประชาธิปไตย สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึง เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น ระบอบประชาธิปไตย ที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุขเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นรูปรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ รอบนอกลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบน อยู่ 4 ทิศ ที่โคนครีบมีภาพแกะสลักลายปั้นนูน และมีรั้วเตี้ยๆกั้นโดยรอบลานอนุสาวรีย์ รั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจำนวน 75 กระบอกฝังดินโผล่ท้ายกระบอกขึ้นมาเป็นเสา คล้องโซ่เชื่อมต่อกัน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อการศึกษากระบวนการออกแบบโปสเตอร์ “ one night in Bangkok ” เพื่อเป็นสื่อในการท่องเที่ยว
2. เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (prototype) โปสเตอร์ “ one night in Bangkok ” เพื่อเป็นสื่อในการท่องเที่ยว

สมมติฐาน/แรงบันดาลใจ
จากความประทับใจในยามราตรีของกรุงเทพฯมีความสวยงามมากจึงอยากจะชักชวนให้ชาวต่างประเทศมาท่องเที่ยวในยามราตรีของประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพฯว่ามีความสวยงามมากไม่แพ้ตอนกลางวันเลยจึงให้การออกแบบโปสเตอร์ “one night in Bangkok”
เพื่อเป็นสื่อในการท่องเที่ยวของประเทศ

ขอบเขตของงาน
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบโปสเตอร์ “ one night in Bangkok ”
การออกแบบโปสเตอร์ชิ้นนี้เป็นสื่อในการนำเสนอการท่องเที่ยวให้ชาวต่างชาติในแถบเอเชีย สถานที่ที่ได้นำมาเสนอนี้จึงเป็นที่ที่สำคัญและความสวยงามในยามค่ำคืน ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี เมื่อสื่อชิ้นนี้ได้นำเสนอออกไปแล้ว อาจมีการบอกต่อๆกันไปเพื่อให้มีการชักชวนกันมาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น

IDEA SKETCH
การออกแบบโปสเตอร์ชิ้นนี้ได้นำเอา IDEA การออกแบบมาจากชาวเกาหลีเป็นแนวการออกแบบเพื่อสื่อในการท่องเที่ยวโดยมีการใช้สีสันประจำชาตินำมาใช้ในตัวชิ้นงานโดยใช้ยามราตรีในอีกมุมหนึ่งของกรุงเทพฯเป็นสื่อในการออกแบบโปสเตอร์ฯ

CONCEPT SKETCH
การออกแบบโปสเตอร์ฯชิ้นนี้ concept ที่ต้องการเสนอคือ การเอาสถานที่หลายๆที่ที่ได้รับความสนใจ มาผสมให้กลมกลืนกันในภายในภาพเดียว concept คือเป็นประตูทางเข้านำไปสู่ความสุขในค่ำคืนที่แสนยาวนาน ที่ทุกคนสามารถมาสัมผัสได้ในยามราตรี

แหล่งศึกษาข้อมูล
http://www.korea-center.com/
http://th.wikipedia.org/
นิตยสาร IDESIGN
นิตยสาร FINEA

ประโยชน์ที่ได้รับในการออกแบบโปสเตอร์ฯ
1. เพื่อการศึกษากระบวนการออกแบบโปสเตอร์ “ one night in Bangkok ” เพื่อเป็นสื่อในการท่องเที่ยว
2. เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (prototype) โปสเตอร์ “ one night in Bangkok ” เพื่อเป็นสื่อในการท่องเที่ยว

No comments: