Wednesday, May 16, 2007

*การออกแบบโปสการ์ด*


ความสำคัญและเป็นมา ( โปสการ์ด )
ครอบครัวคุณศตพร ดีพา (เรณู จุลสุคนธ์) ได้ช่วยเหลือสัตว์ต่างๆเหล่านั้น มาตั้งแต่ปี 2524 ต่อมาเมื่อสัตว์แข็งแรง หายจากการเจ็บป่วยก็เลยเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา กลายเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกภายในครอบครัว เมื่อเพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานที่คับแคบ และเป็นภาระที่ต้องเลี้ยงดู ประกอบกับสัตว์ส่งเสียงดัง ส่งกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้าน จึงต้องย้ายสถานที่เลี้ยงออกไปนอกเมือง โดยตั้งชื่อว่า "บ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ"
ต่อมาในปี 2532 คุณชวนชื่น โกมารกุล ณ นคร (ยั่งยืน) ได้ทราบข่าวและมาเยี่ยม แสดงประสงค์ให้ความช่วยเหลือ จึงจัดซื้อที่ดินบริจาค 200 ตารางวา ณ ที่ทำการมูลนิธิฯ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พร้อมสร้างโรงเรือนถาวรให้ในปี พ.ศ. 2533 ในปี 2536 หลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ได้เมตตามาเยี่ยมโปรดสัตว์พิการ ได้เห็นถึงสภาพปัญหา และภาระของการเลี้ยงดูสัตว์เหล่านี้ จึงจัดสร้างอาคาร และซื้อที่ดินติดกันให้อีก 1 ไร่ และอนุญาตให้ตั้งเป็น "มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ (ในความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน)" มาจนทุกวันนี้
ปัจจุบันมูลนิธิฯ ได้อุปการะสัตว์พิการ อาทิเช่น สุนัข แมว ลิง เต่า และสัตว์พิการอื่นๆ โดยเฉพาะสุนัขมีประมาณ 700-800 ตัว แมวประมาณ 100 กว่าตัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ ให้ความสงเคราะห์สัตว์พิการที่บาดเจ็บ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ที่ไม่มีเจ้าของ ให้ได้รับการรักษา มีที่พักพิง และอยู่อาศัยตามอัตภาพ โดยมีสัตว์แพทย์ เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร คอยให้การดูแลช่วยเหลือ

"ตัวเองเป็นคนรักสัตว์ค่ะ รักหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นอะไร แม้แต่ต้นไม้ก็ยังรัก ยิ่งมาเห็นสัตว์ป่วย สัตว์พิการ ก็ยิ่งสงสารมัน เคยมีคนถามว่า มาทำงานนี่ทำไม ทำไปแล้วได้อะไร ดิฉันก็ถามตัวเองอยู่เหมือนกัน คำตอบที่ได้คือ หมาที่ถูกรถชนมันเจ็บปวดแต่พูดไม่ได้ แต่มันก็ต้องการอะไรเหมือนเรา พอเรายื่นเข้าไปช่วย ให้ยา ให้ข้าว ให้น้ำ บางตัวพอหายดีแล้ว เห็นหน้าเรามันดีใจมาก ตามันจะฉ่ำไปด้วยความปลาบปลื้ม นี่คือคำตอบว่า "ทำไม" นั่นคือความภูมิใจลึกๆ มาตลอดระยะเวลาการทำงานกว่า 20 ปี ถึงจะมีปัญหามากมายในการทำงาน หรือมีความทุกข์บ้าง แต่ในขณะเดียวกัน เราก็มีความสุข มีความสุขที่ได้ทำ และได้เห็นงานที่เราเริ่มต้น มันไปได้ดี"

"เริ่มต้นจากการพบเห็นและเก็บสัตว์มาเลี้ยงไว้ด้วยความรัก ความเมตตาและอาทร ต่อมาได้เห็นสัตว์ถูกรถชน ถูกทำร้าย ถูกปล่อยทิ้งและจรจัดขาดที่พึ่งและเป็นที่รังเกียจต่อสังคม

ต่อมาในปี 2532 คุณชวนชื่น โกมารกุล ณ นคร (ยั่งยืน) ได้ทราบข่าวและมาเยี่ยม แสดงประสงค์ให้ความช่วยเหลือ จึงจัดซื้อที่ดินบริจาค 200 ตารางวา ณ ที่ทำการมูลนิธิฯ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พร้อมสร้างโรงเรือนถาวรให้ในปี พ.ศ. 2533 ในปี 2536 หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ได้เมตตามาเยี่ยมโปรดสัตว์พิการ ได้เห็นถึงสภาพปัญหา และภาระของการเลี้ยงดูสัตว์เหล่านี้ จึงจัดสร้างอาคาร และซื้อที่ดินติดกันให้อีก 1 ไร่ และอนุญาตให้ตั้งเป็น "มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ (ในความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)" มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันมูลนิธิฯ ได้อุปการะสัตว์พิการ อาทิเช่น สุนัข แมว ลิง เต่า และสัตว์พิการอื่นๆ โดยเฉพาะสุนัขมีประมาณ 700-800 ตัว แมวประมาณ 100 กว่าตัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ ให้ความสงเคราะห์สัตว์พิการที่บาดเจ็บ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ที่ไม่มีเจ้าของ ให้ได้รับการรักษา มีที่พักพิง และอยู่อาศัยตามอัตภาพ โดยมีสัตว์แพทย์ เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร คอยให้การดูแลช่วยเหลือ
บนเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ณ บ้านเลขที่ 15/1 หมู่ 1 ซอยพระมหาการุณย์ ถ.ติวานนท์ อ. ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นที่รวมของบรรดาสัตว์พิการกว่า 1,000 ชีวิต ทั้งหมา แมว นก เต่า ลิง ชะนี ฯลฯ ทุกชีวิตเหล่านี้ล้วนพิกลพิการ อันเนื่องมาจากการทารุณของทั้งน้ำมือมนุษย์และสัตว์ด้วยกันเอง ศตพร ดีพา หรือที่รู้จักกันมานานในนาม "เรณู จุลสุคนธ์" ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิฯ ได้เริ่มต้นกิจกรรมแห่งความเมตตาสัตว์พิการที่น่าสงสารเหล่านี้มานานกว่า 20 ปี... 20 ปีแห่งหยาดเหงื่อและน้ำตา เพื่อเพื่อนร่วมโลกที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้เหล่านี้ 06.00 น. เริ่มต้นที่เหล่าบรรดาพนักงานกว่า 20 ชีวิต ตื่นขึ้นมาทำหน้าที่อย่างแข็งขัน บ้างล้าง ทำความสะอาดที่อยู่สัตว์ บ้างจัดเตรียมอาหารเช้าสำหรับสัตว์ บ้างออกตรวจเช็คดูสภาพสัตว์เลี้ยง หากตัวใดที่มีอาการเจ็บป่วยธรรมดา พนักงานก็จะดูแลกันไป โดยทำความสะอาดแผล ทำความสะอาดเนื้อตัว เช็ดขี้มูก ขี้ตาที่เกรอะกรังอยู่บนใบหน้า ส่วนสัตว์ที่อาการหนักจะได้รับการเคลื่อนย้ายเข้ามายังคลีนิคเพื่อรับการรักษาจากสัตว์แพทย์ประจำมูลนิธิฯ อย่างใกล้ชิด
จวบจนกระทั่งบ่าย ...ก็จะมีกิจกรรมการให้อาหารสัตว์อีกรอบ...อาหารประจำวันนั้น หากไม่ใช่ข้าวต้มผสมกระดูกไก่หรือไก่บด ก็จะเป็นอาหารเม็ด หมุนเวียนกันไป เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซาก...เพราะเจ้าหน้าที่ที่นี่ต่างก็รับรู้ว่า สัตว์ก็มีหัวใจ รู้จักเบื่อหน่ายอาหารซ้ำซากเช่นเดียวกับมนุษย์อย่างเราๆ หากสัตว์ตัวใดก็ตามที่เจ็บป่วยมีปัญหาในเรื่องของการย่อย ทางเจ้าหน้าที่ก็จะจัดเตรียมอาหารพิเศษที่ย่อยง่าย รวมถึงลูกสุนัขตัวน้อยๆที่ติดท้องแม่พิการเข้ามา ทางมูลนิธิฯก็จะมีนม มีอาหารอ่อนๆจัดเตรียมไว้สำหรับเจ้าตัวน้อยเหล่านี้

เจ้าหน้าที่ทั้งหมด นอกจากจะมีภารกิจรับผิดชอบชีวิตพิการเหล่านี้แล้ว ยามว่างยังต้องช่วยกัน ดูแลรักษาสวน หากใครที่มีทักษะทางช่าง ก็จะต้องรับหน้าที่ซ่อมบำรุง ต่อเติมกรง ที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ทั้งหลาย ร่วมแรงแข็งขัน ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ระดับสูง กระทั่งลงมาถึงพนักงานระดับล่างๆ เพราะต่างก็รู้ว่า ปัจจัยสำคัญก็คือ “เงิน” นั้น มีที่มาทางเดียวนั่นก็คือ ได้รับบริจาคจากผู้ที่มีใจเมตตาต่อสัตว์ หากไม่ช่วยกันประหยัดแล้ว บ้านแห่งความรักและเอื้ออาทรหลังนี้ก็จะไม่สามารถอยู่ได้ในที่สุด สมาชิกที่เป็นคนทุกในบ้านหลังนี้ ต่างก็จะมีสมาชิกที่เป็นสัตว์พิการโดยเฉพาะหมา พิการที่ช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว กลายมาเป็นองครักษ์คอยติดตาม "เจ้านาย" ต้อยๆ อย่าง หมอต๋อง อดีตสัตว์แพทย์ประจำมูลนิธิฯ จะมี "ไอ้ช้าง" มัลตีฟผสมร่างยักษ์ ซึ่งเป็นขี้เรื้อนเกือบทั้งตัว (ได้รับการรักษาหายแล้ว) คอยติดตามเป็นเงา ...ความรักมากมายที่เจ้าหมาเฒ่าทารกตัวนี้มอบให้กับหมอต๋อง ทำให้หมอต๋องต้องจำใจสละเตียงนอนแสนรักให้กับไอ้ช้าง โดยตัวเองระเห็จลงมานอนกับพื้นส่วนป้าหน่อย เจ้าหน้าที่ประจำคลีนิคมีลูกๆ(หมา) ในความดูแลถึง 3 ตัว ปุยฝ้าย ไจแอนท์ โกโก้ และกลายเป็นภาพเจนตา สำหรับแขกขาประจำและขาจรทั้งหลายที่มาเยี่ยมเยือนมูลนิธิฯจะเห็น เหล่าบรรดาสี่ขา ตาหวาน ลากขาตาม “นายๆ” ออกมารับแขกกันเป็นที่เอิกเกริก
มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ (ในความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ให้ความอนุเคราะห์ และช่วยเหลือสัตว์ที่พิการและเจ็บป่วย อาทิเช่น สุนัข แมว นก เต่า และปลา โดยมีสัตว์ที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิฯ รวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 ตัว และในปีนี้นับเป็นปีที่ 22 ที่ได้ดำเนินมาของบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ โดยได้รับความอนุเคราะห์เงินบริจาคและความเมตตาจากพระเดชพระคุณเจ้าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปที่ช่วยให้มูลนิธิฯ ดำเนินงานมาได้จนปัจจุบัน

ขณะนี้มูลนิธิฯเริ่มเป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอกมากยิ่งขึ้น ผลสะท้อนที่ส่งกลับมายังมูลนิธิฯได้ 2 ทาง กล่าวคือ ได้มีผู้ที่เข้ามาบริจาคสิ่งของ อาหาร ยาและปัจจัยเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งดีงามที่มูลนิธิฯได้มีโอกาสช่วยเหลือสัตว์และเพื่อนร่วมเลี้ยงสัตว์ด้วยกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีจำนวนสัตว์พิการถูกทอดทิ้งหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของมูลนิธิฯเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้สุนัขและแมวอยู่กันอย่างแออัดส่งผลให้สุขภาพสัตว์ไม่แข็งแรงทั้งทางร่างกายโดยเฉพาะสุนัขที่ทุพลภาพพิการ และสุนัข-แมวที่เป็นโรคผิวหนังเป็นต้น จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นสิ่งกดดันให้มูลนิธิฯ พร้อมคณะกรรมเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องที่อยู่อาศัยของสัตว์พิการและจรจัดเหล่านี้ให้มีที่อยู่อย่างเพียงพอ
มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ (ในความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ให้ความอนุเคราะห์ และช่วยเหลือสัตว์ที่พิการและเจ็บป่วย อาทิเช่น สุนัข แมว นก เต่า และปลา โดยมีสัตว์ที่อยู่ในความดูแลของมูลนิธิฯ รวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 ตัว และในปีนี้นับเป็นปีที่ 22 ที่ได้ดำเนินมาของบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ โดยได้รับความอนุเคราะห์เงินบริจาคและความเมตตาจากพระเดชพระคุณเจ้าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปที่ช่วยให้มูลนิธิฯ ดำเนินงานมาได้จนปัจจุบัน



วัตถุประสงค์
1. เพื่อการศึกษาในกระบวนการออกแบบโปสการ์ด"มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ (ในความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)"
2. เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (prototype) "มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ (ในความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)"
3. เพื่อการหาเงินบริจาคทุนให้กับ "มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ (ในความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)"


สมมติฐาน/แรงบันดาลใจ
เพื่อให้มนุษย์หันกับมองสิ่งที่ใกล้ตัว(สุนัข)ที่เป็นเลี้ยงสัตว์ที่ดีของมนุษย์ด้วยกัน โดยให้โอกาสช่วยเหลือสัตว์ทำให้สุนัขและแมวอยู่กันอย่างแออัดส่งผลให้สุขภาพสัตว์ไม่แข็งแรงทั้งทางร่างกายโดยเฉพาะสุนัขที่ทุพลภาพพิการ และสุนัข-แมวที่เป็นโรคผิวหนังเป็นต้น จากปัญหา

ขอบเขตของงาน
ขณะนี้มูลนิธิฯเริ่มเป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอกมากยิ่งขึ้น ผลสะท้อนที่ส่งกลับมายังมูลนิธิฯได้ 2 ทาง กล่าวคือ ได้มีผู้ที่เข้ามาบริจาคสิ่งของ อาหาร ยาและปัจจัยเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งดีงามที่มูลนิธิฯได้มีโอกาสช่วยเหลือสัตว์และเพื่อนร่วมเลี้ยงสัตว์ด้วยกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีจำนวนสัตว์พิการถูกทอดทิ้งหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของมูลนิธิฯเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้สุนัขและแมวอยู่กันอย่างแออัดส่งผลให้สุขภาพสัตว์ไม่แข็งแรงทั้งทางร่างกายโดยเฉพาะสุนัขที่ทุพลภาพพิการ และสุนัข-แมวที่เป็นโรคผิวหนังเป็นต้น จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นสิ่งกดดันให้มูลนิธิฯ พร้อมคณะกรรมเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องที่อยู่อาศัยของสัตว์พิการและจรจัดเหล่านี้ให้มีที่อยู่อย่างเพียงพอ

IDEA SKETCH
การออกแบบโปสการ์ดฯชิ้นนี้ได้นำเอา IDEA มาจากการพูดการตะโกนโดยใช้ตัวหนังสือเป็นสื่อในการออกแบบโดยมีตัวสุนัขเป็นตัวสื่อสารให้มนุษย์รับรู้ถึงความรู้สึกและมีการใช้คำพูดมาเรียงให้เป็นความหมายโดยเป็นการออกแบบที่เรียบง่าย

CONCEPT SKETCH
การออกแบบโปสการ์ดฯชิ้นนี้ เป็นการออกแบบที่เรียบง่ายโดยใช้การจัดวาง โชว์ตัวหนังสือให้มีความรู้สึกว่าเหมือนเป็นคำพูดที่ตะโกนออกไปจากตัวแบ็คกราวค์ทำให้ดูตัวหนังสือโดดเด่นโดยใช้การนำตัวหนังสือมาเรียงกันในแต่ละโปสการ์ดแล้วจะออกมามีความหมาย โดยความหมายของตัวหนังสือ คือ (หวังว่ามีใครมาช่วยให้มีความรู้สึก)
Package สำหรับใส่โปสเตอร์

แหล่งศึกษาข้อมูล
www.home4animals.org/index_th.asp
www.cartoon-dogs.com
นิตยสาร IDESIGN
นิตยสาร FINEA

ประโยชน์ที่ได้รับในการออกแบบโปสเตอร์ฯ
1. เพื่อการศึกษากระบวนการออกแบบโปสการ์ด"มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ (ในความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)" เพื่อเป็นสื่อในการหาเงินทุนไปรักษาสัตว์พิการ (โดยจำหน่ายในราคา 70 บาท)

2. เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (prototype) โปสการ์ด"มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ (ในความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)"เพื่อเป็นสื่อในการหาเงินบริจาคทุนไปรักษาสัตว์พิการ (โดยจำหน่ายในราคา 70 บาท)

*เศรษฐกิจพอเพียง*


ความเป็นมาและความสำคัญ (โปสเตอร์)

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาขนโดยทั่วไป
" เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy
… คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ.
จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่
… Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำรา
เพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ …
และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า
เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการ
เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น. "

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
• กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
• คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
• คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้ • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
• ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
• เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
• เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
• เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
• แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

ขอบเขตของงาน
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบโปสเตอร์

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อการศึกษากระบวนการออกแบบโปสเตอร์ “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้ เข้าใจในความเป็นอยู่ที่พอเพียง
2. เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (prototype) โปสเตอร์
“เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้เข้าใจในความเป็นอยู่ที่พอเพียง

สมมติฐาน/แรงบันดาลใจ
จากความประทับใจที่เคยได้ไปสัมผัสกับชนบทที่ห่างไกล แล้วมองเห็นความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย การมีเศรษฐกิจที่พออยู่ พอกิน และยังสามารถทำรายได้เพื่อตนเองและครอบครัวด้วยนั่น คือ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็อยู่ในหลักของ เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง

IDEA SKETCH
การออกแบบโปสเตอร์ชิ้นนี้ได้นำเอา IDEA การออกแบบคือ การใช้ธรรมชาติที่เคยมีอยู่ในอดีต มาเสนอในรูปแบบของโปสเตอร์ เพื่อสื่อถึง ความเป็นอยู่ การดำรงชีวิต ที่เรียบง่ายไม่
ฟู่ฟ่า หรูหรา ก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ อีกทั้งยังสามารถที่จะช่วยให้ทรัพยากรธรรมชาติไม่สึกหรอได้อีกด้วย

CONCEPT SKETCH
การออกแบบโปสเตอร์ฯชิ้นนี้ concept ที่ต้องการเสนอคือ การกลับสู่ธรรมชาติซึ่งเป็นที่แรกที่มนุษย์ได้สัมผัสเมื่อเกิดมาครั้งแรก การดำรงชีวิตรวมถึงความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย การใช้ของจากธรรมชาติในการดำรงชีพ ซึ่งไม่ได้ใช้อย่างสุรุ่นสุร่าย แต่ใช้เพียงเพื่อพอต่อการดำรงชีวิตไปในแต่ละวันเท่านั้นเอง
แหล่งศึกษาข้อมูล
http://www.pooyingnaka.com/
http://www.porpeang.org/
นิตยสาร IDESIGN
นิตยสาร FINEA

ประโยชน์ที่ได้รับในการออกแบบโปสเตอร์ฯ
1. เพื่อการศึกษากระบวนการออกแบบโปสเตอร์ “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้ เข้าใจในความเป็นอยู่ที่พอเพียง
2. เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (prototype) โปสเตอร์ “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้เข้าใจในความเป็นอยู่ที่พอเพียง

*การออกแบบงานโปสเตอร์ One Nigt In Bangkok*

ความสำคัญและความเป็นมาของงาน
การออกแบบโปสเตอร์ฯเพื่อนำเสนอ ชักชวน ให้ทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฯ ได้เห็นสถานที่ที่สำคัญต่างๆของเมืองไทย เห็นความสวยงามในเวลายามค่ำคืนของกรุงเทพมหานคร
ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานคร
ท้องสนามหลวง เดิมเรียกว่า ทุ่งพระเมรุ เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2398 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศว่า “ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า ‘ท้องสนามหลวง’”
ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้นมา ได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เป็นที่ตั้งพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทำนาที่สนามหลวง เพื่อแสดงให้ปรากฏแก่นานาประเทศว่า เมืองไทยบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร มีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวัง และไทยเอาใจใส่ในการสะสมเสบียงอาหารไว้เป็นกำลังของบ้านเมืองด้วย
ในรัชกาลปัจจุบันมีการใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พระราชพิธีกาญจนาภิเษก รวมทั้งงานพระเมรุเจ้านายระดับสูง เช่น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียน ระหว่างถนนราชดำเนินตัดกับถนนประชาธิปไตย สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึง เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น ระบอบประชาธิปไตย ที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุขเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นรูปรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ รอบนอกลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบน อยู่ 4 ทิศ ที่โคนครีบมีภาพแกะสลักลายปั้นนูน และมีรั้วเตี้ยๆกั้นโดยรอบลานอนุสาวรีย์ รั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจำนวน 75 กระบอกฝังดินโผล่ท้ายกระบอกขึ้นมาเป็นเสา คล้องโซ่เชื่อมต่อกัน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อการศึกษากระบวนการออกแบบโปสเตอร์ “ one night in Bangkok ” เพื่อเป็นสื่อในการท่องเที่ยว
2. เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (prototype) โปสเตอร์ “ one night in Bangkok ” เพื่อเป็นสื่อในการท่องเที่ยว

สมมติฐาน/แรงบันดาลใจ
จากความประทับใจในยามราตรีของกรุงเทพฯมีความสวยงามมากจึงอยากจะชักชวนให้ชาวต่างประเทศมาท่องเที่ยวในยามราตรีของประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพฯว่ามีความสวยงามมากไม่แพ้ตอนกลางวันเลยจึงให้การออกแบบโปสเตอร์ “one night in Bangkok”
เพื่อเป็นสื่อในการท่องเที่ยวของประเทศ

ขอบเขตของงาน
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบโปสเตอร์ “ one night in Bangkok ”
การออกแบบโปสเตอร์ชิ้นนี้เป็นสื่อในการนำเสนอการท่องเที่ยวให้ชาวต่างชาติในแถบเอเชีย สถานที่ที่ได้นำมาเสนอนี้จึงเป็นที่ที่สำคัญและความสวยงามในยามค่ำคืน ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี เมื่อสื่อชิ้นนี้ได้นำเสนอออกไปแล้ว อาจมีการบอกต่อๆกันไปเพื่อให้มีการชักชวนกันมาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น

IDEA SKETCH
การออกแบบโปสเตอร์ชิ้นนี้ได้นำเอา IDEA การออกแบบมาจากชาวเกาหลีเป็นแนวการออกแบบเพื่อสื่อในการท่องเที่ยวโดยมีการใช้สีสันประจำชาตินำมาใช้ในตัวชิ้นงานโดยใช้ยามราตรีในอีกมุมหนึ่งของกรุงเทพฯเป็นสื่อในการออกแบบโปสเตอร์ฯ

CONCEPT SKETCH
การออกแบบโปสเตอร์ฯชิ้นนี้ concept ที่ต้องการเสนอคือ การเอาสถานที่หลายๆที่ที่ได้รับความสนใจ มาผสมให้กลมกลืนกันในภายในภาพเดียว concept คือเป็นประตูทางเข้านำไปสู่ความสุขในค่ำคืนที่แสนยาวนาน ที่ทุกคนสามารถมาสัมผัสได้ในยามราตรี

แหล่งศึกษาข้อมูล
http://www.korea-center.com/
http://th.wikipedia.org/
นิตยสาร IDESIGN
นิตยสาร FINEA

ประโยชน์ที่ได้รับในการออกแบบโปสเตอร์ฯ
1. เพื่อการศึกษากระบวนการออกแบบโปสเตอร์ “ one night in Bangkok ” เพื่อเป็นสื่อในการท่องเที่ยว
2. เพื่อผลิตต้นแบบเหมือนจริง (prototype) โปสเตอร์ “ one night in Bangkok ” เพื่อเป็นสื่อในการท่องเที่ยว